ประวัติมูลนิธิ


"อ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร"

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 24 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นวันมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย เป็นประธานมูลนิธิฯ และ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิฯ โดย มีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน หลักคือ

  1. ส่งเสริมความสามัคคี ปรองดอง ของผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข
  2. ส่งเสริม สนับสนุน ปลูกฝังค่านิยมที่เป็นธรรมาภิบาลทางการแพทย์
  3. ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา อบรม วิจัย และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างธรรมาภิบาลทางการแพทย์
  4. ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการกุศล และองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อ สาธารณประโยชน์

มูลนิธิมีภารกิจที่สำคัญแบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่

  1. สนับสนุนและดูแลหลักสูตร ประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.)
  2. ส่งเสริมกิจกรรม ด้านแพทย์อาสา และกิจกรรมอาสาเพื่อสังคม โดยเฉพาะโครงการแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติฯ
  3. สนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาวิจัย และการประชุมวิชาการด้านธรรมาภิบาลทางการแพทย์
  4. ส่งเสริมการจัดตั้งโรงพยาบาลคุณธรรมนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ควบคู่กับแก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก ที่ดูแลโรงพยาบาลคุณธรรมในกระทรวงสาธารณสุข

การดำเนินงาน

มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ได้มีกิจกรรมสำคัญดังนี้

  1. หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นหลักสูตรที่ออกแบบขึ้นตาม พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มอบให้กับทีมแพทย์ผู้รักษา และคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นกรรมาการแพทยสภา ว่าในยุคบ้านเมืองมีความขัดแย้งขอให้แพทย์ไทย “อ้อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร” ได้ถูกนำมาสร้างเป็นหลักสูตรร่วม แพทยสภา สถาบันพระปกเกล้า โดยได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาแล้วทั้งหมด 5 รุ่น และมีนักศึกษาทั้งสายการแพทย์และสายอื่น รวมทั้งสิ้น 638 คน มูลนิธิได้เข้ามาดูแลตั้งแต่รุ่นที่ 4 ถึงปัจจุบัน

  2. โครงการแพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติฯ และโครงการจิตอาสาอื่นๆ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ได้สนับสนุน การจัดโครงการหน่วยแพทย์อาสาเฉพาะทาง ร่วมกับ แพทยสภาและ หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) โดยมีการจัดโครงการไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์เฉพาะทาง ได้ไปถึงประชาชนที่เดือนร้อนทางการรักษาพยาบาลที่ต้องรอคอยคิวเป็นเวลานาน โดยได้จัดขึ้นมาแล้ว ทั้งหมด 5 ครั้ง ลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ เริ่มที่ 1.จ.อยุธยา 2.อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 3.จ.กาญจนบุรี 4.จ.นครราชสีมา และ 5.จ.ปราจีนบุรี ตามลำดับ ทั้งนี้ได้ทำการตรวจรักษาคนไข้มากกว่า 36,000 คน
    นอกจากนี้ยังได้จัดโครงการแพทย์อาสาร่วมใจถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ท้องสนามหลวง ในช่วงพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 109 วัน และ โรงทานแพทย์อาสา 100 วัน ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ตลอดจนโครงการ แพทย์อาสาสัญจรระดับ รพ.ชุมชน โครงการศัลยแพทย์อาสา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ โครงการ ปธพ.สัญจร ที่มีกิจกรรมตลอดทั้งปี

  3. สนับสนุนการศึกษาวิจัย และการประชุมวิชาการด้านธรรมาภิบาล มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ร่วมกับแพทยสภา สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาระบบการ แพทย์ไทยด้วยธรรมาภิบาล ด้วยการจัดงานประชุมวิชาการประจำปี และเสนอผลงานวิจัยของ หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริหารในการนำไปแก้ปัญหาเพื่อประชาชน โดยเน้นให้ทำการศึกษาวิจัยปัญหาด้านสาธารณสุขด้านต่างๆของประเทศเพื่อนำมาแก้ไขพัฒนาในขณะศึกษาและเมื่อจบหลักสูตรจะนำผลงานวิจัยนั้นมานำเสนอต่อคณะกรรมการ และผู้บริหาร เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขบริหารระบบสาธารณสุขเป็นรูปธรรมต่อไป ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 50 หัวข้อเรื่อง ในปัจจุบันมีโครงการขยายไปให้ความรู้กับนิสิตนักศึกษาแพทย์ และ แพทย์ทั่วไปด้วย

  4. สนับสนุนกิจกรรมโรงพยาบาลคุณธรรม (นอกกระทรวงสาธารณสุข) มูลนิธิให้การสนับสนุน กิจกรรมโรงพยาบาลคุณธรรม ในส่วนของโรงพยาบาลสังกัดนอกกระทรวงสาธารณสุข ควบคู่กับ แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก ที่ดูแลในส่วนของสังกัดกระทรวงสาธารณสุข การดำเนินงานจะเน้นให้ความรู้เรื่อง กระบวนการจัดตั้งโรงพยาบาลคุณธรรม โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิฯจะเป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่โรงพยาบาล ร่วมกับทีมงานผู้ซึ่งมีประสบการณ์ได้แก่ รศ.นพ.อัษฎา ตียพันธ์ อดีตผู้อำนวยการ รพ.ชลบุรี (โรงพยาบาลศูนย์คุณธรรมแห่งแรก) นพ.วิศิษฎ์ อภิสิทธิ์วิทยา ผู้อำนวยการ รพ.บางมูลนาก (โรงพยาบาลชุมชนคุณธรรมแห่งแรก) โดยให้ความรู้แก่โรงพยาบาลเพื่อได้นำความรู้ที่ได้มาดำเนินการในโรงพยาบาล และได้จัดคู่มือ การติดตาม ประเมินผล ตลอดจนมอบรางวัลโรงพยาบาลที่ได้เข้าร่วมโครงการ โดยจะจัดให้มีประชุมวิชาการในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ทุกปี เพื่อเป็นต้นแบบแก่โรงพยาบาลใหม่ๆที่เข้าร่วมโครงการ หวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ดี และยั่งยืน (Best Practice and Sustainability ) ขณะนี้มีโรงพยาบาลเข้าร่วมแล้วกว่า 30 แห่งและเป้าหมายคือ 300 แห่งทั่วประเทศ

ทั้งนี้ภารกิจของมูลนิธิฯ เป็นการน้อมนำธรรมาภิบาล และคุณธรรม เข้าสู่ระบบสาธารณสุข แบบครบวงจรโดยใช้หลักการทรงงาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นยุทธศาสตร์หลัก ตั้งแต่ จัดศึกษาอบรม ผู้บริหารโรงพยาบาล ทำงานวิจัยเพื่อเสนอผู้บริหารประเทศ ปลูกฝังธรรมาภิบาลแก่ นิสิตนักศึกษาแพทย์ และ แพทย์ทั่วไป และสร้างโรงพยาบาลคุณธรรมเพื่อประชาชน

ธรรมาภิบาลหลักสำคัญของสังคมไทย

นักศึกษาทุกท่านจะได้รับความรู้ด้านหลักธรรมาภิบาล ทั้ง 6 ร่วมกับข้อเท็จจริงของวงการแพทย์ไทยในทุกๆ มิติตลอดจนปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันด้วยธรรมาภิบาล ทั้ง 6หลักคือ

  1. หลักนิติธรรม Rule of Laws
  2. หลักคุณธรรม Ethics
  3. หลักความโปร่งใส Transparency
  4. หลักมีส่วนร่วม Participation
  5. หลักสำนึกรับผิดชอบ Accountability
  6. หลักความคุ้มค่า Value for Money

แพทยสภามุ่งหวังว่าการมี “ธรรมาภิบาล” ในทั้งภาครัฐ,ภาคเอกชน,ภาคธุรกิจและภาคประชาชน จะช่วยแก้ปัญหา ระบบสาธารณสุขไทยได้จริง และสร้างความแข็งแกร่งตลอดจนพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยให้ก้าวหน้าเป็นหนึ่งในอาเซียนและหนึ่งในโลกต่อไป

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางระบบสาธารณสุขไทยในทศวรรษหน้า” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร สภานายกพิเศษ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ใน การประชุมวิชาการประจำปี 2558 ของแพทยสภา นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร